11
Oct

เคล็ดลับที่ทำให้บ้านหลังเล็กๆของคุณดูน่าอยู่มากขึ้น

การดูแลรักษาความสะอาดภายในบ้านนั้น เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน ถึงแม้ว่าบ้านจะหลังเล็ก แต่เราก็ต้องใช้พื้นที่เล็กๆของเราให้คุ้มค่ามากที่สุด การออกแบบบ้านจึงถูกประยุกต์ให้ดูสะอาดตา ไม่รก ทำให้ได้ประโยชน์มากที่สุด
โดยมีเคล็ดลับง่ายๆ 5 ข้อ ที่จะทำให้บ้านหลังเล็กๆของท่านดูน่าอยู่ ดังนี้

วิธีที่ 1 จัดสรรพื้นที่ใช้สอยให้ลงตัว

ในปัจจุบัน ที่พักอาศัยที่มีขนาดกะทัดรัดนั้นเข้ามามีบทบาทสำหรับชีวิตคนเมืองใหญ่และมีแนวโน้มว่าจะเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากความคล่องตัวและสะดวกสบายสำหรับผู้ที่ต้องทำงานและใช้ชีวิตในเมือง ลักษณะเฉพาะที่สำคัญประการหนึ่งของอาคารเหล่านี้ก็คือ พื้นที่ใช้สอยซึ่งมีขนาดค่อนข้างจำกัด ดังนั้นการวางแผนการใช้สอยพื้นที่และการตกแต่งที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะพื้นที่ใช้สอยที่มีค่อนข้างจำกัด ทำให้ต้องมีการวางแผนและออกแบบ เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ทุกตารางนิ้วให้เป็นประโยชน์ได้มากที่สุด โดยยังคงความสะดวกสบายในด้านการใช้สอย และยังมีสุนทรียภาพในการใช้ชีวิตอยู่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์สิ่งที่ต้องวางแผนเป็นอันดับแรกในการจัดตกแต่งห้องเล็กนั้นก็คือการ จัดสรรพื้นที่ใช้สอย ต่างๆ ภายในห้องให้ลงตัว ง่ายต่อการใช้สอย โดย คิดหาวิธีที่จะจัดแบ่งพื้นที่การใช้งานให้เป็นสัดส่วน โดยที่ไม่ทำให้ห้องดูแคบและอึดอัด โดยให้ยึดหลักการออกแบบ โดยการจัดวางส่วนต่างๆ ให้เสียพื้นที่เป็นทางเดินน้อยหรือสั้นที่สุด ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้ได้พื้นที่ใช้สอยมากที่สุดเนื่องจากไม่ต้องเสียพื้นที่ห้องไปเป็นส่วนทางเดินนั่นเอง ลองพิจารณาทางเข้าทางออก ทางสัญจร ของส่วนต่างๆ ตลอดจนพิจารณาลำดับขั้นของการเข้าถึงพื้นที่ ต่างๆ ว่ามีความเหมาะสม และสะดวกสบายในการใช้สอยหรือไม่ เช่นอาจจัดพื้นที่บริเวณนั่งเล่น-พักผ่อน และ รับประทานอาหารไว้ใกล้ๆ กันในส่วนหน้า เพื่อความสะดวกในการเข้าถึง โดยเฉพาะในกรณีที่มีแขกมาเยี่ยมเยียนบ่อยๆ

การจัดสรรพื้นที่ใช้สอยเป็นสิ่งสำคัญในการตกแต่งบ้าน โดยเฉพาะในการตกแต่งที่พักอาศัยที่มีพื้นที่จำกัดยิ่งต้องมีการวางแผนกันอย่างรอบคอบ ควรตั้งคำถามกับตัวเองว่าในชีวิตประจำวันเรามีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ส่วนใดบ้าง หากมีพื้นที่ใดที่ใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ ก็ให้พิจารณารวมเข้ากับพื้นที่ใช้สอยส่วนอื่นๆ ในลักษณะพื้นที่เอนกประสงค์ที่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้สอยได้ เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจจัดพื้นที่ใช้สอยที่คล้ายกันเป็นส่วนเดียวกันเสีย เช่น ส่วนรับแขกกับส่วนพักผ่อนนั้นจัดเป็นส่วนเดียวกันโดย สามารถปรับเปลี่ยนการใช้สอยได้ตามวาระและโอกาส ห้องนอน ห้องสมุด และห้องทำงาน อาจจะจัดอยู่ในพื้นที่เดียวกันโดยการกันให้เป็นสัดส่วน ส่วนครัวและส่วนทานอาหาร มีความต่อเนื่องกัน และสามารถยืดหยุ่นในการใช้สอยได้ เป็นต้น

วิธีที่ 2 นำพื้นที่ที่ไม่ใช้ประโยชน์มาใช้

เมื่อวางแผนการใช้สอยพื้นที่เสร็จแล้ว ก็ยังมีบางพื้นที่บางมุมที่ยังไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์ มักเป็นจุดที่เรามองข้ามไปกันเสียส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ในซอกหลีบเล็ก ๆ พื้นที่ที่เกิดจากช่องว่างของเสา คาน พื้นที่ใต้บันใด และพื้นที่ในแนวตั้งตามส่วนต่าง ๆ พื้นที่เหล่านี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่นพื้นที่ใต้บันใดสามารถที่จะทำเป็นมุมอ่านหนังสือเล็ก ๆ หรืออาจจะจัดเป็นชั้นหนังสือหรือชั้นวางข้าวของต่าง ๆการจะนำพื้นที่มาใช้ประโยชน์ให้ลองคิดถึงประโยชน์ใช้สอยในแนวตั้งให้มาก เพราะยิ่งจัดวางข้าวของต่าง ๆ เป็นแนวตั้งได้เท่าไรพื้นที่ก็จะดูโล่งขึ้นเท่านั้น เพราะฉะนั้นสำหรับชั้นวางของก็อาจจะออกแบบให้มีความสูงจรดเพดาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการนำพื้นที่ส่วนที่สูงๆ ใกล้ๆ เพดานมาใช้ให้เกิดประโยชน์เสียเลย นับเป็นการใช้พื้นที่แนวตั้งให้เป็นประโยชน์ในการจัดวางสิ่งของ ซึ่งช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยสำหรับห้องที่มีพื้นที่เล็กๆ ได้พื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อีกแบบป็นพื้นที่ที่จะปรากฏให้เห็นก็ต่อเมื่อเราได้จัดวางและมีความคิดในการออกแบบ จัดแต่งห้องได้อย่างถูกต้องเสียก่อน เช่น การจัดวางเครื่องเรือนนั้น จากที่เคยวางเครื่องเรือนลอยตัว เดินได้โดยรอบ ก็เปลี่ยนมาจัดวางเครื่องเรือนโดยวางให้ชิดผนังด้านหนึ่ง เป็นการเปิดให้มีที่ว่างสำหรับการสัญจรที่สะดวกสบาย และทำให้พื้นที่ดูกว้างขึ้นทันตาเห็น พื้นที่บางส่วนที่รวมกันได้ก็จัดการรวมกันเสีย เช่นการใช้พื้นที่ร่วมกันระหว่างห้องครัว และมุมรับประทานอาหาร ในลักษณะที่เรียกว่า eat-in kitchen ก็ช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยขึ้นได้เช่นกัน

วิธีที่ 3 ไม่กั้นก็ไม่แคบ (ตกแต่งให้ โล่ง โปร่ง สบาย)

สำหรับกลเม็ดเคล็ดลับของการจัดห้องเล็กให้น่าอยู่นั้นนับได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญในการจัดพื้นที่แคบ คือเป็นการพยายามสร้างความต่อเนื่องภายในพื้นที่ไว้ให้มากที่สุด ในการจัดแบ่งพื้นที่ใช้สอยนั้นไม่ควรกั้นผนังทึบ เพราะจะยิ่งทำให้บ้านดูแคบลงไปอีก หากต้องการแบ่งพื้นที่ใช้งานภายในห้อง ควรกั้นพื้นที่ด้วยผนัง หรือวัสดุแบบโปร่ง เช่น ใช้ฉากหรือม่านที่เลื่อนปิดเปิดได้ เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยน พื้นที่การใช้งานให้เหมาะสมกับความต้องการได้มากขึ้นหรืออาจใช้ประตูบานเลื่อนที่เลื่อนปิดเปิดได้ ซึ่งสามารถเปิดออกให้เกิดพื้นที่ต่อเนื่องได้สะดวกทุกเวลาที่ต้องการและปิดเมื่อต้องการความเป็นส่วนตัว อาจใช้ประตูบานเลื่อนกระจกฝ้า กั้นแบ่งพื้นที่ห้องนอนและห้องนั่งเล่น ซึ่งในเวลากลางวันสามารถเปิดทิ้งไว้เพื่อให้เกิด space และบรรยากาศที่น่าสนใจขึ้น หรือออกแบบตกแต่งโดยใช้ผ้าม่านโปร่งเป็นตัวแบ่งพื้นที่ใช้สอยระหว่างห้องนอนกับพื้นที่ส่วนอื่น ผ้าม่านนั้นช่วยสร้างความรู้สึกเป็นส่วนตัว แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงบรรยากาศที่ดูโปร่งสบายไว้ได้ การเปิดช่องแสงเพื่อเชื่อมต่อกับพื้นที่ภายนอก ก็เป็นเทคนิควิธีอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้บ้านดูกว้างและมีมิติมากขึ้นโดยอาจทำผนังด้านหนึ่งเป็นประตูหรือหน้าต่างยาวจรดพื้น เพื่อรับแสงธรรมชาติจากภายนอก และอาจติดม่านโปร่งเพื่อช่วยกรองแสงให้ดูนุ่มนวลยิ่งขึ้น วิธีนี้เป็นการหยิบฉวยพื้นที่ภายนอกให้เข้ามาอยู่ในห้อง หรือ การสร้างผนังโปร่งกั้นบางส่วนในลักษณะ partial wall ก็สามารถแบ่งอาณาเขตพื้นที่ใช้สอยระหว่างมุมเตรียมอาหารกับพื้นที่ใช้สอยอื่นๆ เช่น ห้องนอน มุมพักผ่อน มุมทำงาน หรือมุมดูหนังฟังเพลง ได้เป็นอย่างดีโดยที่ยังคงความรู้สึกต่อเนื่องของพื้นที่ หรือ การใช้ชั้นวางของเตี้ยๆ เพื่อแบ่งพื้นที่ใช้สอยส่วนต่างๆ ในลักษณะเป็น low partition ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ห้องดูไม่ทึบและอึดอัด เป็นแบ่งพื้นที่ใช้สอยแต่ไม่ขวางกั้นสายตา และสามารถเคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ

วิธีที่ 4 เทคนิค ลวงตาและสร้างความน่าสนใจ

ในการจัดแบ่งพื้นที่ใช้สอยนั้นไม่ควรกั้นผนังทึบ เพราะจะยิ่งทำให้บ้านดูแคบลงไปอีก หากต้องการแบ่งพื้นที่ใช้งานภายในห้อง ควรกั้นพื้นที่ด้วยผนัง หรือวัสดุแบบโปร่ง เช่น ใช้ฉากหรือม่านที่เลื่อนปิดเปิดได้ เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยน พื้นที่การใช้งานให้เหมาะสมกับความต้องการได้มากขึ้นหรืออาจใช้ประตูบานเลื่อนที่เลื่อนปิดเปิดได้ ซึ่งสามารถเปิดออกให้เกิดพื้นที่ต่อเนื่องได้สะดวกทุกเวลาที่ต้องการและปิดเมื่อต้องการความเป็นส่วนตัว อาจใช้ประตูบานเลื่อนกระจกฝ้า กั้นแบ่งพื้นที่ห้องนอนและห้องนั่งเล่น ซึ่งในเวลากลางวันสามารถเปิดทิ้งไว้เพื่อให้เกิด space และบรรยากาศที่น่าสนใจขึ้น หรือออกแบบตกแต่งโดยใช้ผ่าม่านโปร่งเป็นตัวแบ่งพื้นที่ใช้สอยระหว่างห้องนอนกับพื้นที่ส่วนอื่น ผ้าม่านนั้นช่วยสร้างความรู้สึกเป็นส่วนตัว แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงบรรยากาศที่ดูโปร่งสบายไว้ได้

4.1 การเลือกใช้สี สำหรับพื้นที่ที่มีอยู่จำกัดแล้ว ควรเลือกใช้สีโทนสว่าง เพราะสีโทนสว่างนั้นให้ความรู้สึกว่าพื้นที่นั้นดูกว้างกว่าความเป็นจริง ในห้องที่มีขนาดเดียวกันนั้น ห้องที่ทาสีโทนสว่างนั้นจะดูกว้างกว่าห้องที่ทาสีทึบ แต่ก็ใช่ว่าจะห้ามใช้สีทึบเสียเลย แต่ควรจะมีการจัดการให้เหมาะสม นอกจากนี้การทาสีเข้มที่ผนังห้องด้านหนึ่งด้านใด นอกจากจะเป็นฉากรับภาพที่ดีแล้ว ยังช่วยสร้างมิติในเชิงลึกให้กับห้อง ทำให้ห้องดูเหมือนมีพื้นที่กว้างขึ้นได้ด้วย

4.2 เส้นสาย เส้นในที่นี้ หมายรวมถึง วัตถุ หรือจุดต่าง ๆ ที่ต่อเนื่องกันจนกลายเป็นเส้นด้วย เพราะฉะนั้นจะมีทั้งเส้นที่มองเห็นด้วยตาและเส้นที่มองเห็นด้วยความรู้สึกให้ได้เลือกประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสมสำหรับการเลือกใช้เส้นนั้น ในส่วนของพื้นที่ที่ดูแคบหรือดูสูงจนเกินไป สามารถที่จะนำเส้นนอนมาใช้ลวงตาให้ดูกว้างและต่ำลง ในลักษณะเดียวกันในส่วนที่ดูว่าต่ำหรือกว่างจนเกินงาม ก็สามารถใช้เส้นตั้งมาจัดการแก้ปัญหาให้ส่วนนี้ดูสูงและแคบลงได้ เส้นสายที่ว่านี้อาจจะเป็นสีที่ทาเป็นเส้น หรือกรอบรูปที่แขวนกันเป็นเส้น ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเส้นที่เขียนขึ้นเท่านั้น

4.3 การใช้วัสดุผิวมันวาว

เช่น กระจกหรือสเตนเลส สร้างเงาสะท้อนเพื่อเพิ่มมิติให้กับพื้นที่ ช่วยให้พื้นที่ดูกว้างหรือมี space เพิ่มมากขึ้นในทันทีทันใด แต่การใช้เทคนิคนี้สิ่งที่ต้องระวังให้ดีคือตำแหน่งการจัดวาง เพราะหากจัดวางผิดที่ผิดทางแล้วอาจจะส่งผลไม่ดีต่อผู้อยู่อาศัยได้ ไม่ควรใช้เทคนิคนี้มากเกินไปจนสร้างความสับสนในเรื่องเส้นทางและการรับรู้ได้เป็นดีที่สุด

4.4 การสร้างความน่าสนใจให้กับห้อง หรือการสร้าง Gimmick Gimmick นั้นเป็นการเติมเสน่ห์เล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับบ้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะสิ่งเหล่านี้มีส่วนทำให้บ้านมีชีวิต Gimmick คือ ทุกอย่างที่อยู่รอบตัวคุณ คือสิ่งต่างๆ ที่คุณสะสม เป็นเหมือนคาแรคเตอร์ของคุณเองและมีเสน่ห์ในตัวเอง ยิ่งเป็นห้องขนาดเล็กที่ควรจะใช้สีอ่อนเป็นพื้นเพื่อให้ห้องดูกว้างขึ้นแล้ว การนำสิ่งของเล็ก ๆ สีสดใสมาแต่งบ้าน ก็ช่วยให้ห้องดูสดใสน่าสนใจขึ้นได้อย่างมากทีเดียว

วิธีที่ 5 เลือกใช้ข้าวของแบบอัตถประโยชน์

การเลือกใช้ข้าวของแบบอัตถประโยชน์ คือ การเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีประโยชน์ใช้สอยอย่างหลาก หลายในชิ้นเดียว หรือ การเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์อเนกประสงค์ หรือหนึ่งชิ้นหลายหน้าที่ (multi-tasking) แทนการใช้เฟอร์นิเจอร์หลายชิ้น ซึ่งเป็นอีกวิธีการที่จะช่วยประหยัดพื้นที่ใช้สอยทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ที่มีอยู่ได้คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น เช่น การใช้เฟอร์นิเจอร์ที่สามารถยืด หด พับเก็บได้ก็สามารถช่วยประหยัดเนื้อที่ได้มาก เพราะทำให้ปรับเปลี่ยนได้ตามการใช้งานได้อย่างสะดวก โดยไม่เปลืองเนื้อที่ เมื่อไม่ใช้ก็จัดเก็บได้ นอกจากนี้การใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีรูปทรงโปร่ง หรือมีขนาดกะทัดรัดก็ช่วยทำให้ห้องดูโล่ง ไม่ทึบตันได้ด้วย เพราะฉะนั้นนอกจากลักษณะของเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถใช้สอยแบบอัตถประโยชน์ได้แล้ว สีและลักษณะรูปทรงของเฟอร์นิเจอร์ก็มีความสำคัญไม่น้อยในปัจจุบันเฟอร์นิเจอร์ที่มีประโยชน์ใช้สอยแบบอัตถประโยชน์นั้นก็มีมากมายหลายแบบเช่น

1. เตียงที่ด้านล่างออกแบบเป็นลิ้นชักเก็บของได้ เป็นเตียงในลักษณะที่เรียกว่า hidden storage

2. เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้เป็นเตียงนอน และสามารถปรับใช้เป็นโซฟาพักผ่อนในเวลากลางวัน เป็นลักษณะที่มีคำจำกัดความว่าเป็น “a bedroom serves as an extension of the living room”

3. โซฟานั่งเล่น โซฟาพักผ่อนหรือ Daybed ซึ่งออกแบบให้มีที่เก็บของด้านล่าง

4. โต๊ะกลางที่ออกแบบให้ทำหน้าที่เป็นที่เก็บของอีกหน้าที่หนึ่ง

5. เก้าอี้นวมหรือ ottoman ซึ่งออกแบบให้มีที่เก็บของซ่อนอยู่ด้านใน

6. โต๊ะที่ออกแบบให้สามารถปรับใช้เป็นโต๊ะทำงาน และโต๊ะแต่งตัวได้ในเวลาเดียวกัน

อีกตัวอย่างหนึ่งของแนวคิดการใช้เฟอร์นิเจอร์แบบหนึ่งชิ้นหลายหน้าที่ หรือ multi-tasking คือ การจัดวางตำแหน่งเฟอร์นิเจอร์ธรรมดาที่มีอยู่ให้สามารถใช้งานได้หลากหลาย เช่น วางโต๊ะกลางในตำแหน่งที่เป็นได้ทั้ง มุมพักผ่อน โต๊ะรับประทานอาหาร หรือโต๊ะทำงาน ฯลฯ แล้วแต่การใช้งานในแต่ละโอกาส ก็สามารถทำให้เฟอร์นิเจอร์ธรรมดา ๆ กลายเป็น เฟอร์นิเจอร์อัตถประโยชน์ ได้ เช่นกัน

เคล็ดลับทั้ง 5 ข้อนี้ดูไม่ยากเกินไปสำหรับท่านที่ต้องการให้บ้านของท่านดูน่าอยู่ขึ้น