11
Oct

การออกแบบบ้านให้ประหยัดพลังงาน

ในปัจจุบันนี้เราสูญเสียคำว่า “พลังงาน” มากไปเท่าไหร่แล้ว เทคโนโลยีในสมัยนี้นับวันยิ่งเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น การใช้พลังงานก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นไปด้วย ถ้าหากว่าเราไม่ตระหนักว่า พลังงานที่เราใช้อยู่ทุกวัน ในอนาคตอีกไม่นานมันก็จะหมดไป เราควรที่จะประหยัดพลังงาน นับตั้งแต่วันนี้ โดยที่เริ่มจากตัวเราก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อให้พลังงานในโลกของเรานี้มีมากพอที่จะส่งต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานของเราต่อไปได้ เพราะฉะนั้นเราควรที่จะออกแบบบ้านของเราให้ประหยัดพลังงาน โดยมีวิธีต่างๆ ดังนี้ • ปลูกต้นไม้ทรงสูงเพื่อบังแสงอาทิตย์ โดยที่จะต้องให้มีกระแสลมเย็นพัด ผ่านใต้พุ่มใบในความเร็วที่พอเหมาะ เพื่อลดอุณภูมิภายนอกใกล้บริเวณบ้านและ ป้องกันลมพัดผ่านเข้าตัวบ้านมากเกินไป โดยเราควรปลูกต้นไม้ในทิศตะวันออกและ ทิศตะวันตก • นำหลักภูมิสถาปัตย์มาใช้ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมรอบๆ บริเวณบ้านให้ เย็นสบาย โดยการปลูกพืชคลุมดิน ปลูกหญ้า จัดแต่งสวน จัดทำน้ำตกจำลอง เป็นต้น • ถมดินบริเวณรอบบ้านให้สูง เพื่อให้พื้นและผนังบางส่วนต่ำกว่าดิน ทำให้สามารถนำความเย็นจากดินมาใช้ และปลูกไม้พุ่มบริเวณผนังบ้าน • ในกรณีที่มีพื้นที่จำกัด อาจจะปลูกต้นไม้ดัด หรือไม้เลื้อยตามระเบียงหรือรั้ว เพื่อลดลมร้อนพัดผ่านเข้าตัวบ้าน และลดความแรงของแสงแดดที่ส่องตัวอาคาร • ทำรางน้ำและท่อระบายน้ำจากหลังคา หรือส่วนต่างๆ ภายในบ้านให้ เหมาะสม เพื่อป้องกันความชื้นซึมเข้าไปในบ้าน หรืออาจจะทำท่อระบายน้ำที่ได้จาก การซักล้างไปใช้รดน้ำต้นไม้ • ถ้าต้องการทำที่จอดรถ ควรทำที่จอดรถพร้อมหลังคาในด้านทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก เพื่อเป็นการช่วยลดความร้อนผ่านเข้ามาในตัวบ้านโดยตรง • บุฉนวนกันความร้อนที่หลังคาและผนัง โดยความหนาของฉนวนที่ใช้ต้อง ขึ้นอยู่กับความต้องการในการลดความร้อน แต่ส่วนใหญ่ใช้ฉนวนที่มีความหนาประมาณ 2-3 นิ้ว (50-75 มม.) ฉนวนสำหรับหลังคาและผนังมีหลายชนิด ได้แก่ ฉนวนใยแก้ว ฉนวนเยื่อกระดาษ ฉนวนเซรามิก เป็นต้น • ใช้กระเบื้องหลังคาสีอ่อน เพื่อสะท้อนความร้อนได้ดี • ทาสีผนังภายนอกของบ้านเป็นสีอ่อน ใช้วัสดุที่มีผิวมันและกันความชื้น • สำหรับผนังด้านที่มีระเบียงยื่น ควรเลือกใช้ประตูหรือหน้าต่างชนิดบานเปิดสวิง ซึ่งสามารถควบคุมปริมาณลมได้ดีกว่าการใช้ประตูหรือหน้าต่างชนิดบานเลื่อน • ติดตั้งหน้าต่างกระจกเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น โดยให้เพียงพอในการรับแสงสว่างจากธรรมชาติ และควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งด้านทิศตะวันออกและตะวันตก • สำหรับห้องที่อยู่เหนือพื้นที่จอดรถ หรือพื้นที่ระเบียงโล่ง ควรมีการทาหรือพ่นฉนวนที่ฝ้าเพดานของที่จอดรถ หรือระเบียงโล่งนั้นๆ เพื่อป้องกันการนำความร้อนจากภายนอกผ่านใต้พื้นห้องเข้าสู่ตัวห้อง • ทำกันสาดให้กับหน้าต่างกระจก โดยกันสาดที่ทำส่วนยื่นกันเฉพาะด้านบนเหมาะสมกับหน้าต่าง ที่อยู่ทางทิศเหนือและทิศใต้ เพราะสามารถบังแสงอาทิตย์ในช่วงเที่ยงและช่วงบ่าย ส่วนกันสาดที่ทำส่วนยื่นกันทั้งด้านบนและด้านข้างจะ เหมาะสมกับหน้าต่างที่อยู่ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก • ติดตั้งผ้าม่านหรือมู่ลี่บริเวณหน้าต่างกระจก เพื่อป้องกันความร้อนจากแสง อาทิตย์เข้าภายในตัวบ้าน ส่วนการติดฟิล์มกรองแสงที่กระจกหน้าต่างนั้น แม้จะป้องกัน ความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ดีกว่า แต่ค่าใช้จ่ายสูงกว่าจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยม • ติดตั้งพัดลมระบายอากาศบนหลังคา เพื่อดูดอากาศร้อนใต้หลังคาออกไป ภายนอก • ทำระเบียงยื่นพร้อมหลังคาในทิศตะวันออกและทิศตะวันตก สำหรับใช้ เป็นที่นั่งทานอาหารว่างหรือใช้ทำครัวนอกบ้านแล้วยังช่วยลดความร้อนเข้ามา ในบ้านอีกด้วย • อุดรอยรั่วด้วยซีเมนต์หรือซิลิโคน (Silicone) ที่ช่องติดตั้งโคมไฟ ช่องติดตั้งพัดลมเพดาน ช่องที่เตรียมไว้สำหรับเดินท่อน้ำ เป็นต้น เพื่อป้องกันความ ร้อนจากภายนอกผ่านเข้าช่องเพดาน • อุดรอยรั่วตามรอยต่อ ระหว่างผนังขอบประตู หน้าต่าง เพื่อป้องกันความ ร้อนและความชื้นจากภายนอกผ่านเข้ามาในบ้าน • จัดวางโต๊ะเขียนหนังสือให้หันหน้าเข้าผนังด้านที่รับแสงธรรมชาติได้ • จัดวางตู้และชั้นวางของให้เหมาะสม ไม่บังลม ไม่กีดขวางการระบาย อากาศ และไม่บังแสง • หมั่นดูแลรักษาทำความสะอาด พรม ผ้าม่าน โซฟา ไม่ให้เปียกชื้น เพื่อลดความร้อนแฝง